
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่ง พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นพระสงฆ์ทรงอภิญญารูปหนึ่งที่บำเพ็ญบารมีเพื่อพุทธภูมิในชาติสุดท้าย แม้ว่าจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม แต่ชื่อเสียงของท่าน ยิ่งเป็นที่รู้จักมากในบรรดานักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย และยังคาถาที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “คาถาเรียกทรัพย์” หรือคาถาเงินล้านของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็มีต้นกำเนิดมาจากหลวงพ่อปาน
ประวัติโดยสังเขป
พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน โสนันโท ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ที่บ้านตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค พ.ศ. ๒๔๓๙ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปที่ ๓ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และหลวงพ่อปาน โสนันโท ได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ รวมสิริอายุได้ ๖๓ ปี บวชพระมาได้ ๔๒ พรรษาADVERTISEMENT
คำสอนหลวงพ่อปาน โสนนฺโท
คำสอนหลวงพ่อปาน โสนันโท :
-
ไม่เคยฆ่าสัตว์ :
ในชีวิตฉันไม่เคยฆ่าสัตว์เลย ตัวเล็กตัวใหญ่ก็ตาม ถ้าฆ่าโดยเจตนาแล้วไม่เคยทำ แม้แต่ยุงก็ไม่เคยตาย -
งานศพ:
ในงานศพที่มาไหว้ศพนะ เขามาไหว้สัจจธรรมของพระพุทธเจ้านะ คือ ท่านตรัสว่าร่างกายของคนนะ มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ ในที่สุดก็อนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลากราบทีแรกเขานึกถึงพระพุทธเจ้าว่าทรงเทศน์ไว้ถูก เทศน์ไว้ตรง ข้าพระพุทธเจ้าขอยอมรับนับถือ เป็นมรณานุสสติกรรมฐาน กราบครั้งที่ ๒ เขานึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ เหมือนดอกมะลิแก้วแพรวพราวไปด้วยความจริงอันประเสริฐ ทำบุคคลทั้งหลายไม่ให้เมามัน และทำให้เข้าถึงความสุข กราบครั้งที่ ๓ นึกถึงพระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ทั้งหลายที่ท่านร้อยกรองพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้ว ไม่ปล่อยให้อันตรธานสูญหายไป รวบรวมเข้าไว้ นี้กราบความดีของพระ ๓ พระนะ เขาไม่ได้กราบผีกราบศพ! -
มีของดีอะไรก็ตาย:
ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตามเราก็ต้องตาย ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอา อย่างน้อยที่สุดเราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ ขอให้ทุกคนนะ เวลาจะหลับให้นึกถึงความดีที่ตนทำไว้ ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทานเลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตนเคยรักษา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วจะรู้ว่าฉันหวังดีกับลูกหลานเพียงใด คนไหนทำความดีมากไม่ได้ก็ให้สร้างความดี ๒ อย่าง ที่ฉันต้องการคือ ๑. อย่าดื่มสุราเมรัย ๒. อย่าลักขโมย อย่าเป็นโจร -
ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔:
เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นฌานสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ ...ทุกคนตายแล้ว ...จงไปสวรรค์ ...จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน -
ไปนิพพานให้ได้:
นิพพาน คือ จุดหมาย "ลูกเอ๋ย อย่าไปน้อยใจในวาสนา โชคลาภ อำนาจนี้นะ มันไม่แน่นอนเสมอไปหรอกลูก แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรู้จักสร้างบุญกุศลต่างหาก อย่าไปโทษ โชคลาภอำนาจวาสนาเลย มันเป็นเพียงแค่การใช้กรรมเก่าของเราเท่านั้นเอง พอถึงเวลามันก็จะมีเองลูก ไม่ต้องไปสนใจ แต่สิ่งที่ควรจะสนใจ คือ ชาตินี้เราต้องตั้งจุดหมายไปที่นิพพานให้ได้นะลูกนะ" -
ปัจฉิมโอวาท:
ลูกทุกคน "เมื่อพ่อตายไปแล้ว จงอย่าทิ้งกรรมฐานที่พ่อให้ไว้ เป็นกรรมฐานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าถือว่าเป็นของพ่อ ต้องถือว่าเป็นของพระพุทธเจ้า ฆราวาสทุกคนอย่าทิ้งคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านะ แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติจะเอาตัวไม่รอด แล้วจะมาโทษพ่อไม่ได้ เพราะสมบัติส่วนใหญ่พ่อให้ไว้หมดแล้ว คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ นิพพานสมบัติ พ่อให้หมดแล้ว ลูกทุกคนจงพยายามรักษาไว้ให้ดี"
พระคาถาหลวงพ่อปาน
พระคาถาหลวงพ่อปาน โสนนฺโท ให้ใช้สวดภาวนาเป็นประจำเวลาตื่นนอน ๓ จบ ก่อนนอน ๓ จบ หรือมากกว่านั้น กล่าวกันว่าหลายคนที่สวดภาวนาอย่างต่อเนื่อง จะมีเงิน มีธุรกิจที่มั่นคง พุทธคุณของพระคาถาเรียกทรัพย์ เมื่อค้าขายจะทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย เรียกเงิน เรียกทอง โชคลาภ ค้าขายร่ำรวยคาถาเรียกทรัพย์
ตั้งนะโม ๓ จบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (ว่า ๑ จบ)
วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี
วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มาณีมามะ
พุทธัสสะ สะวาโหม ฯ
(ให้สวด ๓,๕,๗,๙ จบ ก็ได้แล้วแต่สะดวก เมื่อสวดเป็นประจำจะเกิดผลโชคลาภ เรียกเงินเรียกทอง ค้าขายร่ำรวย)
คาถาอิทธิฤทธิ์
พุทโธ พุทธัง นะกันตัง
อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ฯ
(ใช้ภาวนาเป็นคาถาป้องกันตัวจากอันตรายทั้งปวง)
คาถามหาอุด
อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ ฯ

รูปหลวงพ่อปาน โสนันโท
มีไว้บูชาเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว ตลอดถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสุขสวัสดีแก่ตนเองตลอดกาลช้อปปี้ / ลาซาด้า

ADVERTISEMENT
แหล่งอ้างอิง:
-หนังสือ "อภิมหามงคลธรรม (แจกเป็นธรรมทาน) หน้า ๑๑๒.
-เว็บไซต์ "th.wikipedia.org/wiki/พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท)"