วิธีอ่านบทสวดมนต์ หรือคำบาลีให้ถูกต้องที่สุด

แนะนำอ่านบทสวดมนต์ หรือบทพระพุทธมนต์ต่างๆ คำในภาษาบาลีนั้น มีคำหลายคำที่มีวิธีอ่านเฉพาะ คือ ออกเสียงกึ่งมารตา เช่น คำว่า "ส๎วากขาโต" เวลาอ่านออกเสียง จะไม่อ่าน "สะหวาก-ขา-โต" คำว่า "สะหวาก" ตรงกับคำว่า สะ จะออกเสียง อะ สั้นและเร็วกึ่งมาตรา ควบกับพยางค์หลัง เป็น "สะหวาก" คำที่อ่านออกเสียงกึ่งมาตราในบทสวดมนต์ จะมักใช้เครื่องหมายยมการ (Ɛ) บนพยัญชนะ ที่ออกเสียงกึ่งมาตรา ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

๑. เครื่องหมายยมการบนพยัญชนะต้น ให้อ่านออกเสียง ( อะ ) ควบกับคำพยางค์หลังกึ่งมาตรา เช่น
ส๎วากขาโต อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต
สะพ๎ยัญชะนัง อ่านว่า สะ-พะยัน-ชะ-นัง
ค๎รีเมขะลัง อ่านว่า คะรี-เม-ขะ-ลัง
ต๎วัง อ่านว่า ตะวัง
เท๎ว อ่านว่า ทะเว
เตว๎วะ อ่านว่า ตะเว-วะ
๒. เครื่องหมายยมการบนพยัญชนะตาม คือ เป็นตัวสะกดให้อ่านเป็นตัวสะกดของพยัญชนะตัวหน้า พร้อมออกเสียง ( อะ ) กึ่งมาตราควบกับพยางค์หลังด้วย เช่น
กัต๎วา อ่านว่า กัด-ตะ-วา
คันต๎วา อ่านว่า คัน-ตะ-วา
ตัส๎มา อ่านว่า ตัด-สะหมา
ตัส๎มิง อ่านว่า ตัด-สะหมิง

ใต้พยัญชนะใดมีเครื่องหมายจุดพินทุ ( . ) มีลักษณะการออกเสียง ๒ แบบ คือ
- เป็นตัวสะกดของอักษรตัวหน้า และตัวมันเอง ออกเสียงครึ่งหนึ่ง (กึ่งมาตรา) เช่น
ตัตฺระ ออกเสียงว่า ตัด-ตะ-ระ
- ออกเสียงเหมือนมี "ไม้หันอากาศ" เช่น
ปญฺญา ออกเสียงว่า ปัน-ยา

เหนือพยัญชนะใดมีเครื่องหมายนิคหิต ( ํ ) หรือหยาดนํ้าค้าง จะอ่านออกเสียงเหมือนมี "ไม้หันอากาศกับตัวงู" เช่น
- สรณํ จะออกเสียงว่า สะ-ระ-นัง
อรหํ จะออกเสียงว่า อะ-ระ-หัง
ธมฺมํ จะออกเสียงว่า ทัม-มัง
เป็นต้น ฯ

{fullwidth}
AD BY ADSTERRA

نموذج الاتصال