
พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ หรือพระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปปางนี้มีลักษณะเด่น คือเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติโดยย่อ
ภายหลังที่พระองค์ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนิโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่า เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่นำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิความรู้ต่างกัน จึงทรงดำริที่จะแสดงธรรมตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆบทบูชาพระประจำวันศุกร์
การบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิดวันศุกร์ จึงเสมือนเป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณและพุทธานุภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และน้อมนำพุทธคุณมาเป็นเครื่องปกป้องภยันตรายแก่ชีวิต ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์มีอานุภาพปกป้องคุ้มครอง และทั้งเป็นการเสริมเคราะห์หรือเกื้อหนุนดวงชะตาให้ดำเนินไปในทางแคล้วคลาดปลอดภัยบทสวดบูชาพระวันศุกร์
-
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ
(ให้สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาล)
สาสะเน สาธุ สัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ
สะทา กิพพิสะการิภี
ปะริสานัญจะ ตัสสันนะ
มะหิงสายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร
ปะริตตัน ตัมภะณามะเห.
(แบบย่อ)
-
วา โธ โน อะ มะ มะ วา.
(คาถาพระพุทธเจ้าตวาดหิมพานต์)
ใช้ทางเมตตามหานิยมก็ได้ ใช้เสกเป่าด้าย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผีป่าเจ้าเขาเวลาเดินทางก็ได้
ผู้ที่เกิดวันศุกร์
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับตัวหรือบ้านเรือนเป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สีขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรักสรุป
การบูชา "พระประจำวันเกิดวันศุกร์" ก็เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติเวลาทำงานหรือตัดสินใจทำอะไรลงไป เพื่อเจริญสมาธิภาวนาหรือสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา และเป็นการสั่งสมบุญบารมีของตน ทำให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทำอะไรก็ลุล่วงสมปรารถนาดีทุกอย่างนะครับ
พระประจำวันศุกร์
มีไว้บูชาเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว ตลอดถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสุขสวัสดีแก่ตนเองตลอดกาลSHOPEE / LAZADA

อ้างอิงเนื้อหา:
-หนังสือ "พระพุทธมนต์มงคลชีวิต ว.วิสุทธิสารี" หน้า ๑๓๕.
-บางส่วนจาก "th.wikipedia.org/wiki/ปางรำพึง"